9 มิ.ย. 2553

ตั้งค่าการเก็บบทความเก่า และ ฟีดของไซต์ (Site Feed)

การตั้งค่าการเก็บบทความเก่า  สามารถเลือกได้เป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน ขึ้นอยู่กับความขยันเขียนบทความในแต่ละวัน ถ้ามีน้อยก็อย่าเก็บเลย บล็อกจะโหรงเหรง แต่ถ้าขยันเขียนซะบทความมีมากจนตาลาย ก็เก็บ ๆ ไปเถอะ เวลาคนอ่านจะหาเค้าก็ไปค้น ๆ ดูเอาเอง
ไม่งั้นก็ดูจากสารบัญหรือป้ายบทความที่ควรทำไว้ พิจารณาดูแล้วตั้งไปก่อนค่อยเปลี่ยนทีหลังได้ ไม่มีผลกระทบเสียหายแต่อย่างใด

ฟีด feed คืออะไร ?
อธิบายง่าย ๆ ก็คือ การส่งข่าวคราวไปให้ผู้สนใจ บรรดาแฟนคลับของบล็อกเรา ได้รู้ว่าอัพเดทข้อมูลใหม่แล้วนะ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาเข้ามาบ่อย ๆ แถมบางทีอารมณ์เสียมาเก้อ เจ้าของหายหัวไม่มาเขียนซักที อีกนัยหนึ่ง ก็เป็นการเสนอหน้าไปหลอน..ไม่ให้ลืมกัน
ถ้าเอาแบบวิชาการ..Feed คือคำเรียกรวมของ RSS Feed, Web Feed หรือ XML Feed เป็น การส่งข้อมูลบนเว็บไซต์หรือบล็อกที่เพิ่ง update ไปยังเครื่องมือที่ใช้อ่าน Feed ของผู้อ่าน ทำให้ผู้ที่สมัครรับ Feed สามารถอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ที่สมัครไว้ได้โดยตรงเลยจากโปรแกรมอ่าน feed โดยที่ไม่ต้องเข้าบล็อก   เข้าใจแล้วก็ไปตั้งค่าได้เลย

อนุญาตให้ใช้ ฟีดของบล็อก (Allow Blog Feeds)
โหมดพื้นฐาน
เลือกแบบเต็ม ก็จะจัดส่งเนื้อหาของบทความแบบเต็ม ๆ
เลือก แบบสั้น เพื่อจัดส่งเนื้อหาเฉพาะย่อหน้าแรก หรือประมาณ 255 ตัวอักษร ขึ้นอยู่กับว่าข้อใดสั้นกว่า การตั้งค่านี้จะใช้กับฟีดแต่ละประเภท (บทความ ความคิดเห็น และฟีดของความคิดเห็นต่อบทความ)
โหมดขั้นสูง
ในโหมดขั้นสูงสามารถเลือกการฟีดแบบเต็มหรือแบบสั้นก็ได้ในส่วนของบทความ ความคิดเห็น หรือความคิดเห็นต่อบทความ

URL การเปลี่ยนเส้นทางฟีดข้อมูลของบทความ (Post Feed Redirect URL)
ชื่อ Url ที่ทางผู้ให้บริการให่เรามาเมื่อเราสมัครใช้บริการแล้ว ให้นำมาใส่ที่นี้เลยครับ

ส่วนท้ายฟีดของบทความ (Post Feed Footer)
การเขียนข้อความส่งท้าย Feed ของเรา

เสร็จแล้วบันทึกค่าไว้เป็นอันเรียบร้อย
Custom Search

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น